วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

สายรุ่งในสมอง .... โดยครูป้อม

...ครูป้อมมีโอกาสไปอ่านบทความวิทยศาสตร์ที่เขียนเล่าเรื่องเกี่ยวกับสมอง ซึ่งเป็นเรื่องที่ผมสนใจอย่างยิ่ง และได้นำมาให้ทุกท่านได้อ่านเรื่องราวดีร่วมกันบ่อยครั้งที่ความงามแบบงานศิลปะก็สามารถเกิดขึ้นได้กับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ..
...นักวิทยาศาสตร์ที่ฮาร์วาดได้สร้างหนูพันธุ์พิเศษที่มีเซลล์สมองซึ่งสามารถสร้างสารเรืองแสงฟลูโอเรสเซนส์สีต่างๆ อย่างสวยสดงดงาม จนได้รับการตังฉายาว่า เป็น "brainbow" อยู่ภายในสมอง ... คำนี้เลียนแบบมาจากคำว่า "รุ้งกินน้ำ" หรือ "rainbow" ในภาษาอังกฤษนั่นเอง..
...สมองหนูที่ว่างดงามเพียงใด ก็ลองดูรูปข้างล่างนี้สิครับ..
.
.
...รูปที่เห็นอยู่นี้เป็นเซลล์สมองของหนูส่วนที่เกี่ยวข้องกับการฟัง เส้นหนาๆ คือส่วนที่ใช้ส่งสัญญาณ (axon) ส่วนเส้นบางๆ เป็นส่วนรับสัญญาณ (dendrite) ... นักวิทยาศาสตร์เค้าว่า แอ็กซอนที่หนาเป็นเพราะสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมต้องการประมวลผลสัญญาณเสียงให้ได้อย่างรวดเร็ว..
...ดูแล้วลองนึกเปรียบเทียบกับภาพวาด "จืดๆ" โครงสร้างเซลล์สมองในหนังสือเรียนทั่วไปสิครับว่าภาพนี้ "แจ่ม" กว่ากันมากเพียงใดครับ..
...อีกสักภาพนะครับ เส้นแต่ละเส้นในภาพข้างล่างนี้มีสีแตกต่างกัน แสดงให้เห็นเส้นทางส่งสัญญาณประสาทของเซลล์ประสาทที่ต่างเซลล์กัน ก็เลยเห็นเป็น "โครงข่ายการสื่อสาร" ซับซ้อนดังรูป ส่วนสีแดงตรงกลางภาพเป็นเซลล์ประสาทเซลล์หนึ่ง และเส้นสีสีน้ำเงินและเหลืองที่รายล้อมเป็นแขนงประสาทของเซลล์ประสาทอื่นที่อยู่รอบๆ ..
.

...ปล. ถ้าหนูพิเศษชนิดนี้ไม่ย่อมเสียสละชีพเพื่อนำเอาสมองมาให้นักวิทยาศาสตร์ศึกษากัน เราก็คงไม่รู้ว่าในสมองทั่วไปยังมีสิ่งที่เรานึกไม่ถึงอีกมากมายครับ..
 
ขอขอบคุณ "สมองหนู"
ครูป้อม คนล่าฝัน
.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น