วันอังคารที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ชีวประวัติ My idol ของผม (ปริญญา เทวานฤมิตรกุล)....โดยครูป้อม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล 

           นักวิชาการกฎหมายชาวไทย ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ และรองอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มักแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในแง่มุมกฎหมายตามสื่อต่าง ๆ เสมอ ๆ[1]ใน เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 มีบทบาทเป็นเลขาธิการสหพันธ์ นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) [2]แต่ ไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์เมื่อทหารปราบประชาชนในวันที่ 18-20 พฤษภาคม และการชุมนุมที่ลาน สวป.หลังจากนั้น [3]

ประวัติการศึกษา

พ.ศ. 2547 นิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต ด้านกฎหมายมหาชน Georg-August-Universitaet zu Goettingen, สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
พ.ศ. 2541 นิติศาสตร์มหาบัณฑิต ด้านกฎหมายมหาชน Georg-August-Universitaet zu Goettingen, สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
พ.ศ. 2533 นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มัธยมศึกษา โรงเรียนเซนต์คาเบรียล

หนังสือ

  1. สิทธิเสรีภาพและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน, สารานุกรมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) , สถาบันพระปกเกล้า, 2544, 140 หน้า.
  2. Parteienfinanzierung, Spenden, Transparenz und Kontrolle: System und Problematik in Deutschland und in Thailand, สำนักพิมพ์ Potsdamer Verlag สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี, 2548, 270 หน้า.

บทความวิจัย

  1. การคุ้มครอง สส.ในฐานะผู้แทนปวงชนไม่ให้ตกอยู่ภายใต้อาณัติของพรรคการเมือง, นำเสนอในการประชุมวิชาการประจำปีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 9 ธันวาคม 2548, 31 หน้า.
  2. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และพรรคการเมือง : การแก้จุดอ่อนของรัฐธรรมนูญ 2540 ที่นายกรัฐมนตรีมีอำนาจเหนือผู้แทนปวงชนโดยใช้พรรคการเมือง, นำเสนอในที่ประชุมนิติศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 6, 28 มีนาคม 2550, 42 หน้า.

บทความในวารสารวิชาการ

  1. การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่กับความเป็น ประชาธิปไตยทางตรง, วารสารกฎหมายปกครอง เล่ม 17 ตอน 2, สิงหาคม 2541, หน้า 57-81.
  2. การใช้โทรศัพท์มือถือในห้องเรียนกับขอบเขตการใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐ ธรรมนูญ, หนังสือรพี 2542, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2542, หน้า 59-63.
  3. การอุดหนุนเงินให้พรรคการเมืองโดยรัฐและการควบคุมเงินบริจาค : การปรับปรุงระบบของประเทศไทยโดยศึกษาเปรียบเทียบกับระบบของประเทศเยอรมัน, วารสารนิติศาสตร์ ปีที่ 34 ฉบับที่ 3, กันยายน 2547, หน้า 411-435.
  4. การยึดทรัพย์ตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเป็นมาตรการทางแพ่ง และย้อนหลังได้จริงหรือ?, หนังสือรพี 2548, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548, หน้า 79-86.

ขอขอบคุณ "อ.ปริญญา"
ครูป้อม คนล่าฝัน

2 ความคิดเห็น:

  1. ความดีที่ควรทำ

    สวัสดีหนูจ๋าฟังครูสอน เป็นบทกลอนเรื่องความดีที่มุ่งหมาย
    เป็นเด็กดีที่ดีจริงทั้งหญิง ชาย หนูเล็กเล็กเด็กทั้งหลายจงคิดดู
    อันความดีมีมากมายแบ่ง หลายอย่าง วาจาใจกายร่างสามหมวดหมู่
    จงตั้งใจใฝ่พินิจติดตาม ครู หนึ่งนั้นดูที่กายความหมายมี
    กายสะอาดนั้นคืองามตามตาเห็น เป็นจุดเด่นรูปธรรมนำวิถี
    กายอ่อนน้อม สุภาพเรียบราบดี สำรวมจริตอินทรีย์กิริยา
    รวมเรียกว่าดี กายหมายเลขหนึ่ง เป็นสิ่งซึ่งทำไม่ยากจากท่วงท่า
    ส่วนดีสองคือดี งามตามวาจา จะเอื้อนเอ่ยออกมาฟังรื่นรมย์
    พูดวาจาไพเราะหูดู เทศะ รู้ใดพูดรู้ใดละตามเหมาะสม
    พูดความจริงหญิงชายหมาย นิยม พูดคำคมสุภาษิตพินิจความ
    ไม่พูดพล่อยส่อเสียดเกลียดคำเท็จ สูตรสำเร็จวาจาดีมีข้อห้าม
    พูดพล่อยเพ้อเจ้อหยามประชดสบถความ ทั้งกล่าวเท็จเรียกนามมึงอ้ายอี
    พูดนินทาให้ร้ายหมายหยามเหยียด สบประมาทส่อเสียดทุกถิ่นที่
    ทุจริตควรงดเว้นเน้นวจี ทั้งหมดคือวาจาดีขยายความ
    ประการสามนันคือจิตคิดตั้งมั่น สิ่งสำคัญมองที่ใจไม่มองข้าม
    แม้กายดีวาจาดีไม่มีทราม แต่ถ้าใจไม่งามก็หมดดี
    คนจะงามงามที่ใจใช่ใบหน้า เป็นคำพูดสอนมามากเหลือที่
    สุภาษิตสอนเรื่องใจไขวจี เริ่มแต่มีจิตคิดเมตตาเข้าหากัน
    ปรารถนาจากใจเราให้เขาสุข ปลดเปลื่้องทุกข์ด้วยกรุณาน่ายึดมั่น
    ให้อภัยไม่ถือโกรธถือโทษทัณฑ์ ปิติพลันเมื่อคนอื่นเขาได้ดี
    มีสติยึดเหนี่ยวใจไม่เกลือกกลั้ว สิ่งเมามัวเลวร้ายหลากหลายที่
    เตือนตนได้ด้วยตนยอดคนมี รวมเรียกว่าใจดีเป็นสามองค์
    รวมจบความสามสิ่งที่จริงแท้ จะช่วยแก้ความเลวร้ายคลายโลภโกรธหลง
    เป็น ความดีที่ควรทำจิตจำนง ตั้งใจจงเป็นคนงามด้วยสามดี

    ตอบลบ