วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สงครามโลกครังที่ 2 อิอิอิ

สงครามโลกครั้งที่สอง (อังกฤษ: World War II หรือ Second World War[note 1]; มักย่อว่า WWII หรือ WW2) เป็นความขัดแย้งทางทหารในระดับโลก ซึ่งเกี่ยวข้องกับประเทศส่วนใหญ่ รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด ประเทศผู้ร่วมสงครามรวมตัวกันเป็นพันธมิตรทางทหารสองฝ่ายอันเป็นคู่ขัดแย้ง: ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ ระหว่างสงครามมีการระดมกำลังทหารมากกว่า 100 ล้านนาย ด้วยลักษณะของ "สงครามเบ็ดเสร็จ" ประเทศมหาอำนาจผู้ร่วมสงครามได้ทุ่มเทขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์เพื่อการสงครามทั้งหมด โดยไม่แบ่งแยกทรัพยากรว่าเป็นของพลเรือนหรือทหาร ประมาณกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ[3][4] ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด[5] และนองเลือดที่สุดในประวัติศาสตร์ มนุษยชาติ[6]

โดยทั่วไปมักถือเอาว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มต้นขึ้นหลังจากการรุกรานโปแลนด์ของเยอรมนี ภายในหนึ่งปี เยอรมนีมีชัยเหนือยุโรปตะวันตกเกือบทั้งหมด แต่ก็ไม่อาจชนะสหราชอาณาจักรที่ยังคงต่อต้านได้ ในช่วงปี ค.ศ. 1941 เยอรมนีได้ชัยชนะในพื้นที่คาบสมุทรบอลข่าน และเกาะครีต รวมทั้งได้ส่งทหารไปช่วยอิตาลีในทวีปแอฟริกา และรุกรานสหภาพโซเวียต; ฝ่ายจักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งกำลังอยู่ในภาวะสงครามกับจีน ฉวยโอกาสโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์และส่งทหาร รุกรานหลายประเทศ สงครามได้ขยายตัวไปยังออสเตรเลียและมหาสมุทรแปซิฟิก แต่ความพ่ายแพ้ของญี่ปุ่นในยุทธนาวีมิดเวย์ ทำให้ญี่ปุ่นตกเป็นฝ่ายตั้งรับในช่วงเวลาที่เหลือของสงคราม

ในปี ค.ศ. 1943 ความพ่ายแพ้ในทวีปแอฟริกาเหนือของฝ่ายอักษะ ส่งผลให้ฝ่ายสัมพันธมิตรยกพลขึ้นบกบนเกาะซิซิลีและรุกรานอิตาลี ในปี ค.ศ. 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถเปิดแนวรบใหม่ในยุโรปตะวันตกได้ ซึ่งเมื่อประกอบกับการโจมตีกลับจากทาง ตะวันออกของสหภาพโซเวียตแล้ว ยิ่งทำให้เยอรมนีสูญเสียดินแดนยึดครองไปมากขึ้นอีก จนนำไปสู่ความพ่ายแพ้ในปี ค.ศ. 1945; ฝ่ายญี่ปุ่นไม่อาจเอาชนะจีนได้ในสงครามอันยืดเยื้อมาเป็นเวลาหลายปี ทั้งยังสูญเสียดินแดนยึดครองรวมทั้งหมู่เกาะซึ่งยึดได้ก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นยังคงไม่ยอมแพ้ จนกระทั่งมีการทิ้งระเบิด นิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น รวมทั้งการ รุกรานแมนจูเรีย

สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต ในขณะที่สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตกลายเป็นอภิมหาอำนาจของโลก อันเป็นคู่ปรปักษ์กัน ซึ่งนำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีภายหลังสงคราม ในขณะเดียวกัน การยอมรับในหลักการของการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เป็นตัวเร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา ขณะที่ยุโรปตะวันตกได้พยายามมุ่งหน้าสู่การฟื้นฟูทาง เศรษฐกิจและการบูรณาการทางการ เมือง ซึ่งเพิ่มพูนยิ่งขึ้น
เนื้อหา
[ซ่อน] ปาล์ม ป.6

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น