วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2554

7 นักฟิสิกส์ ของโลกตลอดกาล



อันดับ 1  อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein)
นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน – สวิส – อเมริกัน เกิด พ.ศ. 2422 ถึงแก่กรรม พ.ศ. 2498 ผลงานสำคัญมีมากมาย เช่น ทฤษฏีสัมพัทธภาพทั้งภาคพิเศษและภาคทั่งไป ทฤษฏีปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก (photoelectric effect) ซึ่งเป็ฯผลงานที่ทำให้ได้รับราลวัล โนเบลประจำ ปี 2464 ทฤษฏีการเคลื่อนที่แบบบราน์ (Brownian motion)ฯลฯ

อันดับ 2  ไอแซก นิวตัน (Isaac New-ton)
นักวิทยาศาสตร์ นักฟิสิกส์ และนักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ เกิด พ.ศ. 2185 ถึงแก่กรรม พ.ศ. 2272 ผลงานสำคัญเป็นพิเศษ คือทฤษฎีความโน้มถ่วง กฎสามข้อของการเคลื่อนที่ แคลคูลัส ความจริงนิวตันสนใจเคมีและใช้เวลาในการศึกษาเกี่ยวกับเคมี เขียน เรื่องราวเกี่ยวกับเคมีไว้มาก แต่มักจะไม่ได้รับการกล่าวถึง เพราะเป็นเคมียุคเก่า ที่เป็นเรื่องของอัลเคมี (เล่นแร่แปรธาตุ) ที่ไม่เป็นประโยชน์อีกต่อเคมียุคใหม่


อันดับ 3  เจมส์ เคลิร์ก แมกซ์เวลล์ (James Clerk Maxwell)
นักฟิสิกส์และนักคณิตศาสตร์ชาวสก็อต เกิด พ.ศ. 2374 ถึงแก่กรรม พ.ศ. 2422 ผลงานสำคัญคือ ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า รวมปรากฏการณ์หรือผลงานของเรื่องที่เป็นไฟฟ้า เข้ากับแม่เหล็ก

 
อันดับ 4  นีลส์ บอห์ร (Niels Bohr)
นักฟิสิกส์ชาวเดนมาร์ก เกิด พ.ศ. 2428 ถึงแก่กรรม พ.ศ. 2505 เป็นเจ้าของทฤษฎีแบบจำลอง (model) หรือ โครงสร้าง (structure) ของ อะตอม ที่รู้จักเรียกกันว่า แบบจำลองอะตอมบอห์ร (Bohr atomic model, Bohr atomic structure) ซึ่งเชื่อมโยงความคิดเชิงควอนตัมในเรื่องของการรับ และปล่อยพลังงานโดยอะตอมและตำแหน่ง ของอิเล็กตรอนที่โคจรรอบนิวเคลียสว่า ต้องเป็นควอนตัมคือ อยู่ได้เฉพาะบางวิถีโคจร (กำหนดโดยหลักการเชิงควอนตัม) นีลส์ บอห์รมีบทบาทสำคัญใน โครงการสร้างระเบิดอะตอมลูกแรกของโลก คือโครงการแมนฮัตตัน แต่ภายหลัง เมื่อเห็นฤทธิ์เดชอันน่าสะพรึงกลัวของระเบิดนิวเคลียร์นีลส์ บอห์รก็ทุ่มเทชีวิตให้กับการรณรงค์เพื่อให้มี การนำเอาพลังงานิวเคลียร์มาใช้ทางสันติเท่านั้น


อันดับ 5  เวิร์นเนอร์ ไฮเซนเบิร์ก (Werner Heisenberg)
เวิร์นเนอร์ ไฮเซนเบิร์ก (Werner Heisenberg) นัก ฟิสิกส์ชาวเยอรมัน เกิดพ.ศ. 2444 ถึงแก่กรรม พ.ศ. 2519 ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ขณะมีอายุเพียง 31 ปี เป็นผู้มีส่วนสำคัญในการพัฒนาทฤษฎีควอนตัม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลักความไม่แน่นอนที่มีชื่อของเขาอยู่ด้วยว่า Heisenberg uncertainty principle


อันดับ 6  กาลิเลโอ (Galileo)
นักฟิสิกส์ชาวอิตาลี เกิด พ.ศ. 2107 ถึงแก่กรรม พ.ศ. 2185 เป็นนักวิทยาศาสตร์คนเดียวในโลก ที่ชื่อแรกของเขา (กาลิเลโอ) เมื่อ มีการกล่าวถึง ก็เป็นที่เข้าใจกันทั่วโลกว่า หมายถึงเขา โดยไม่ต้องระบุชื่อ – นามสกุลเต็มว่า กาลิเลโอ กาลิเลอี ได้รับการยกย่องเป็นนักวิทยาศาสตร์เด่นที่สุด ที่นำวิทยาศาสตร์โลกให้ก้าวเข้าสู่วิทยาศาสตร์ยุคใหม่ หลังจากที่วิทยาศาสตร์โลกติดอยู่กับบ่วงเหล็ก ของวิทยาศาสตร์ยุคเก่ามานานกว่าหนึ่งพันปี บ่วงเหล็กของทฤษฎีเกี่ยวกับ จักรวาลว่า โลกเป็นศูนย์กลางของจักร

 
อันดับ 7  ริชาร์ด ไฟน์แมน (Richard Feynman)
นัก ฟิสิกส์ชาวอเมริกัน เกิด พ.ศ. 2459 ถึงแก่กรรม พ.ศ. 2531 ได้ชื่อเป็นนักฟิสิกส์อารมณ์ดี สอนฟิสิกส์ในระดับมหาวิทยาลัยที่ยาก ๆ ได้สนุกสนาน ทั้งๆ ที่เจาะลึก ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ประจำปี 2508 จากผลงานเกี่ยวกับ quan-tum electrodynamics


อันดับ 8  พอล ดิแรก (Paul Dirac)
นัก ฟิสิกส์ชาวอังกฤษ เกิด พ.ศ. 2445 ถึงแก่ กรรมพ.ศ. 2527 เป็นผู้ที่รวมทฤษฎีสัมพัทธภาพภาคพิเศษ (special theory of relativity) เข้ากับทฤษฎีควอนตัมได้สำเร็จตั้งแต่ พ.ศ. 2471 ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ประจำปี 2476 จาก ผลงานเชิงทฤษฎีที่พยากรณ์ว่า อนุภาคทุกชนิด ล้วนมีปฏิอนุภาคเป็นคู่ เริ่มต้นจากปฏิอนุภาคของอิเล็กตรอน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น