วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2554

7 นักฟิสิกส์ ของโลกตลอดกาล



อันดับ 1  อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein)
นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน – สวิส – อเมริกัน เกิด พ.ศ. 2422 ถึงแก่กรรม พ.ศ. 2498 ผลงานสำคัญมีมากมาย เช่น ทฤษฏีสัมพัทธภาพทั้งภาคพิเศษและภาคทั่งไป ทฤษฏีปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก (photoelectric effect) ซึ่งเป็ฯผลงานที่ทำให้ได้รับราลวัล โนเบลประจำ ปี 2464 ทฤษฏีการเคลื่อนที่แบบบราน์ (Brownian motion)ฯลฯ

อันดับ 2  ไอแซก นิวตัน (Isaac New-ton)
นักวิทยาศาสตร์ นักฟิสิกส์ และนักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ เกิด พ.ศ. 2185 ถึงแก่กรรม พ.ศ. 2272 ผลงานสำคัญเป็นพิเศษ คือทฤษฎีความโน้มถ่วง กฎสามข้อของการเคลื่อนที่ แคลคูลัส ความจริงนิวตันสนใจเคมีและใช้เวลาในการศึกษาเกี่ยวกับเคมี เขียน เรื่องราวเกี่ยวกับเคมีไว้มาก แต่มักจะไม่ได้รับการกล่าวถึง เพราะเป็นเคมียุคเก่า ที่เป็นเรื่องของอัลเคมี (เล่นแร่แปรธาตุ) ที่ไม่เป็นประโยชน์อีกต่อเคมียุคใหม่


อันดับ 3  เจมส์ เคลิร์ก แมกซ์เวลล์ (James Clerk Maxwell)
นักฟิสิกส์และนักคณิตศาสตร์ชาวสก็อต เกิด พ.ศ. 2374 ถึงแก่กรรม พ.ศ. 2422 ผลงานสำคัญคือ ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า รวมปรากฏการณ์หรือผลงานของเรื่องที่เป็นไฟฟ้า เข้ากับแม่เหล็ก

 
อันดับ 4  นีลส์ บอห์ร (Niels Bohr)
นักฟิสิกส์ชาวเดนมาร์ก เกิด พ.ศ. 2428 ถึงแก่กรรม พ.ศ. 2505 เป็นเจ้าของทฤษฎีแบบจำลอง (model) หรือ โครงสร้าง (structure) ของ อะตอม ที่รู้จักเรียกกันว่า แบบจำลองอะตอมบอห์ร (Bohr atomic model, Bohr atomic structure) ซึ่งเชื่อมโยงความคิดเชิงควอนตัมในเรื่องของการรับ และปล่อยพลังงานโดยอะตอมและตำแหน่ง ของอิเล็กตรอนที่โคจรรอบนิวเคลียสว่า ต้องเป็นควอนตัมคือ อยู่ได้เฉพาะบางวิถีโคจร (กำหนดโดยหลักการเชิงควอนตัม) นีลส์ บอห์รมีบทบาทสำคัญใน โครงการสร้างระเบิดอะตอมลูกแรกของโลก คือโครงการแมนฮัตตัน แต่ภายหลัง เมื่อเห็นฤทธิ์เดชอันน่าสะพรึงกลัวของระเบิดนิวเคลียร์นีลส์ บอห์รก็ทุ่มเทชีวิตให้กับการรณรงค์เพื่อให้มี การนำเอาพลังงานิวเคลียร์มาใช้ทางสันติเท่านั้น


อันดับ 5  เวิร์นเนอร์ ไฮเซนเบิร์ก (Werner Heisenberg)
เวิร์นเนอร์ ไฮเซนเบิร์ก (Werner Heisenberg) นัก ฟิสิกส์ชาวเยอรมัน เกิดพ.ศ. 2444 ถึงแก่กรรม พ.ศ. 2519 ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ขณะมีอายุเพียง 31 ปี เป็นผู้มีส่วนสำคัญในการพัฒนาทฤษฎีควอนตัม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลักความไม่แน่นอนที่มีชื่อของเขาอยู่ด้วยว่า Heisenberg uncertainty principle


อันดับ 6  กาลิเลโอ (Galileo)
นักฟิสิกส์ชาวอิตาลี เกิด พ.ศ. 2107 ถึงแก่กรรม พ.ศ. 2185 เป็นนักวิทยาศาสตร์คนเดียวในโลก ที่ชื่อแรกของเขา (กาลิเลโอ) เมื่อ มีการกล่าวถึง ก็เป็นที่เข้าใจกันทั่วโลกว่า หมายถึงเขา โดยไม่ต้องระบุชื่อ – นามสกุลเต็มว่า กาลิเลโอ กาลิเลอี ได้รับการยกย่องเป็นนักวิทยาศาสตร์เด่นที่สุด ที่นำวิทยาศาสตร์โลกให้ก้าวเข้าสู่วิทยาศาสตร์ยุคใหม่ หลังจากที่วิทยาศาสตร์โลกติดอยู่กับบ่วงเหล็ก ของวิทยาศาสตร์ยุคเก่ามานานกว่าหนึ่งพันปี บ่วงเหล็กของทฤษฎีเกี่ยวกับ จักรวาลว่า โลกเป็นศูนย์กลางของจักร

 
อันดับ 7  ริชาร์ด ไฟน์แมน (Richard Feynman)
นัก ฟิสิกส์ชาวอเมริกัน เกิด พ.ศ. 2459 ถึงแก่กรรม พ.ศ. 2531 ได้ชื่อเป็นนักฟิสิกส์อารมณ์ดี สอนฟิสิกส์ในระดับมหาวิทยาลัยที่ยาก ๆ ได้สนุกสนาน ทั้งๆ ที่เจาะลึก ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ประจำปี 2508 จากผลงานเกี่ยวกับ quan-tum electrodynamics


อันดับ 8  พอล ดิแรก (Paul Dirac)
นัก ฟิสิกส์ชาวอังกฤษ เกิด พ.ศ. 2445 ถึงแก่ กรรมพ.ศ. 2527 เป็นผู้ที่รวมทฤษฎีสัมพัทธภาพภาคพิเศษ (special theory of relativity) เข้ากับทฤษฎีควอนตัมได้สำเร็จตั้งแต่ พ.ศ. 2471 ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ประจำปี 2476 จาก ผลงานเชิงทฤษฎีที่พยากรณ์ว่า อนุภาคทุกชนิด ล้วนมีปฏิอนุภาคเป็นคู่ เริ่มต้นจากปฏิอนุภาคของอิเล็กตรอน


วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ใครพอรู้ - เคยเจอบ้างไหม - ความระทมขมขื่น

หมดคุณค่าในตัวตน ของคนหนึ่งคน ก็ต่อเมื่อ เมื่อไหร่??
ใครพอรู้!!!


คำพูดของคนคนหนึ่งที่เห็นต่าง เป็นดาบที่เข้ามาทิ่มแทงหัวใจของเรา!
คุณเคยเจอบ้างไหม??


หนึ่งคนพูดๆ ค่อยจับผิด แล้วเห็นเป็นเรื่องสะใจ ชอบใจ ของเขา!!

 แต่เขาหารู้ไม่ เขาได้สร้างความขมขื่น ระทม ให้อีกคนๆ หนึ่งโดยเขาหารู้ตัวไม่!

วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ความสุขจากการให้

แทนที่จะแสวงหา ความสุขจากการได้ ลองหันมาแสวงหา ความสุขจากการมี หรือจากสิ่งที่มี ขั้นต่อไปคือการแสวงหา ความสุขจากการให้ กล่าวคือ ยิ่งให้ความสุข ก็ยิ่งได้รับความสุข สุขเพราะเห็นน้ำตาผู้อื่นเปลี่ยนเป็นรอยยิ้ม และสุขเพราะภาคภูมิใจที่ได้ทำความดี และทำให้ชีวิตมีความหมาย ...
โดย : พระไพศาล วิสาโล เมื่อ : 19/12/2006 01:15 PM ...
สุขที่ได้ให้คนที่เรารัก เป็นสุขที่อิ่มเอมใจ สุขที่ได้ให้อภัย เป็นสุขที่ผ่อนคลาย...

วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ปรารถนาในความ 'พอดี'

  ทุกคนล้วนมีความอยาก อยากมั่ง อยากมี อยากได้มาครอบครอง ทุกคนล้วนมีความโลภ
ผมมีความคิดอย่างหนึ่งกับตัวเองเสมอมาเกี่ยวกับความปรารถนา
ผมปรารถนาที่จะรักทุกคน แล้วก็ปรารถนาให้ทุกคนรักในที่ตัวผมเป็นตัวของผม
ปรารถนาที่จะเป็นผู้ให้มากกว่า ปรารถนาที่จะค่อยเป็นเพียงผู้รับ

  วันนี้ผมได้อ่านบทความนี้ ผมมีความปีติภายในใจ อิ่มเอิบ เบิกบาน ในความ 'พอดี'

   เรามักถูกสอนให้มองด้านดีว่า แก้วน้ำที่มีน้ำอยู่ครึ่งแก้วนั้น มีน้ำเหลือตั้งครึ่งแก้ว มากกว่าที่จะมองว่าน้ำหายไปครึ่งแก้ว แต่จะมองด้านไหนก็ตาม ก็ทำให้เราคิดว่าแก้วยังขาด พร่อง ยังต้องหาน้ำมาเติมให้เต็ม
   ตลอดชีวิตที่ผ่านมา เราจะรู้สึกว่า เรายังมีไม่พอ ต้องมีนั่น มีนี่ เสียก่อน แล้วเราจะอิ่ม จะเต็ม สิ่งหนึ่งที่เราไม่เคยถูกสอนก็คือ ไม่ว่าเราจะพัฒนาความสามารถ ในการหาเงิน หาของ หาความรัก ให้ได้มากสักเท่าไหร่ก็ตาม น้ำในแก้วก็ไม่มีวันเต็ม เพราะความอยากในใจเราไม่เคยหยุด แก้วของเราก็จะโตขึ้น
ไปเรื่อยๆ ไม่เคยพอ
  เมื่อก่อนที่เราคิดว่า ถ้าเรามีเงินล้าน เราจะมีความสุข พอเรามีเข้าจริงๆ ปริมาณความต้องการ มาตรฐานการครองชีพ ความเป็นอยู่ของเราก็โตรุดหน้าไป จนเราต้องหาเพิ่มตลอดเวลา ซึ่งอย่าว่าแต่คนมีเงิน 10 ล้าน 100 ล้าน ขนาดคนที่มีเป็นหมื่นล้าน ยังหาเงินอย่างไม่รู้จักอิ่มรู้จักพอ รวมทั้งคนที่เรารักหนักหนา ยากลำบากกว่าจะได้มา พออยู่กันไปนาน ๆ ใจเราก็เรียกร้องมากขึ้นๆ เห็นจุดอ่อนข้อบกพร่อง ไม่อิ่ม ไม่เต็มได้ตลอดเวลา แก้วน้ำหรือความอยากในใจเรา ไม่เคยหยุดโต หาเท่าไหร่ก็ไม่เคยเต็ม
  เคล็ดลับของความสุข ก็คือ เราพยายามอย่างเต็มที่ในการหาเงิน หาความรัก เหมือนหาน้ำมาใส่แก้ว แต่สิ่งที่สำคัญกว่า คือ เราต้องเรียนรู้ที่จะปรับขนาดของแก้วให้พอดีกับน้ำ ให้ใจเราสามารถที่จะมีความสุขสงบพอใจกับขณะนี้ เดี๋ยวนี้ โดยไม่ต้องรออนาคต
  ถ้าเรามีน้ำอยู่ครึ่งแก้ว แต่เราสามารถลดขนาดของแก้วน้ำลงจนเหลือเพียง 1 ใน 4 น้ำที่มีครึ่งแก้ว ก็จะล้นมีเกินอยู่อีกเท่าตัวมีเกินพอสำหรับเราและพอที่จะแบ่งให้คนอื่นเมื่อเราเต็มเราก็ไม่ต้องไปวิ่งหาน้ำมาเติมอีก มีเวลาเหลือเฟือให้คนที่เรารัก ให้กับสิ่งที่มีความหมายต่อชีวิตเราอย่างแท้จริง
  การลดขนาดของแก้วน้ำก็คือ การที่เราหมั่นตามรู้ ตามดูจิตใจ ความรู้สึก ความคิดของเรา แต่ละขณะที่เรารู้ทันใจเราที่อยากได้ อยากให้คนอื่นคิดให้ถูกใจเรา ทุกขณะที่เรารู้ทัน ความอยากจะทำงานไม่ได้
เราก็ได้ลดขนาดของแก้วลงทุกขณะ ที่เรามีความรู้สึกตัวชีวิตเราก็จะเป็นแก้วที่อิ่มเต็มพอดี พอเพียงมีความสุขมั่นคง

วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554

กาลเวลา - รักแท้

กาลเวลาพิสูจน์รักแท้ สองทวดชาวจีน ใช้ชีวิตคู่ยาวนานถึง 90 ปี

   ใครหลายคนเชื่อในรักแท้และตามหาความรักที่เป็นนิรันดร์ อยู่เคียงข้างกันไปจนแก่เฒ่า
ไม่ต่างจากคู่รักคุณทวดคู่นี้ ที่ถึงแม้ว่าอายุจะล่วงเลยมาถึงหลัก 100
แต่ทั้งสองก็มีความสุข ประคองความรักอยู่ร่วมกัน จนกว่าจะตายจากกันไปข้างหนึ่ง

คุณ ทวด จิน จี๋เฟิน ในวัย 106 ปี ยังคงมีร่างกายที่แข็งแรง อยู่เคียงข้างกับสามีวัย 109 ปี
ทวด หยาง เฉินโจง ซึ่งทั้งคู่ได้รับการขนานามว่า

“เป็นคู่รักที่อยู่ร่วมยาวนานที่สุด”
 จากสมาคมศึกษาเกี่ยวกับผู้สูงวัยแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน


    ทั้งนี้ ทั้งคู่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ในมณฑลกุ้ยโจวทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน
มานานกว่า 100 ปี ฝ่ายสามีเคยประกอบอาชีพช่างไม้
ส่วนคุณทวด จิน เป็นแม่บ้าน ทั้งคู่แต่งงานกันมานานกว่า 90 ปี
ซึ่งปัจจุบันมีลูกหลานถึง 5 ชั่วคน


“เธอดีกับผมมาตลอดชีวิตที่เราอยู่ร่วมกันมา และปัจจุบัน เธอก็ยังทำอาหาร ทำหน้าที่เป็นภรรยาที่ดีให้กับผมเสมอ”
คุณทวดหยางกล่าว


   ขณะที่คุณทวดจิน ก็มีความสุขที่ได้หุงหาอาหารให้กับสามี โดยบอกว่า 
คงอยู่ไม่ได้ถ้าไม่ได้ทำอะไร รอยยิ้มของคุณทวดบ่งบอกได้เป็นอย่างดีว่า 
ความรักที่มีให้กันนั้น ทำให้โลกนี้สวยงาม และมีความสุขขนาดไหน

ความรักที่มอบให้กันกว่า 90 ปี
แสดงให้เป็นเป็นอย่างดีว่ากาลเวลาที่ล่วงเลยที่ผ่านมา
อุปสรรคต่างๆ ไม่ได้ทำให้ทั้งสองต้องแยกจากกัน
เพราะรักแท้ แม้อุปสรรคขวางกั้น ไม่มีวันที่ทั้งสองจะพรากจากกันไปได้..
 
Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า 3.0 ประเทศไทย.