ตัวอย่าง..
การวิจัยเกี่ยวกับนาฬิกาชีวิตระบบต่างๆ ของร่างกาย
การวิจัยเกี่ยวกับนาฬิกาชีวิตระบบต่างๆ ของร่างกาย
2. ปริมาณเม็ดเลือดขาว ที-ลิมโฟไซต์ และเม็ดเลือดขาวติดสีกรด จะสูงสุดช่วง 00.00-04.00 น. และต่ำสุด 12.00-16.00 น.
...
3. ความดันเลือด ระยะคลายตัวของหัวใจ
เวลา 09.00 น. ประมาณ 72-80 มม.ปรอท
เวลา 14.00 น. ประมาณ 84-90 มม.ปรอท
การเต้นของหัวใจแรงสุดประมาณ 08.00 น.
การเต้นของหัวใจต่ำสุดประมาณ 20.00 น.
4. ระบบการหายใจ การเปลี่ยนแปลงขนาดของปอด หรือการพยายตัวของปอดจะสูงช่วง 06.00-07.00 น. และ 18.00-21.00 น. ผู้ป่วยที่มีอาการอาเจียนเป็นเลือดมักเกิดอาการสูงสุดในช่วงเวลานี้
5. ระบบการย่อยอาหารและดูดซึม
การขับน้ำย่อยของตับอ่อนจะต่ำสุดในฤดูร้อน ทำให้ฤดูร้อนเบื่ออาหาร กินอาหารไม่ได้มาก
ปริมาณของน้ำย่อยของตับอ่อนช่วงเวลากลางคืนลดลง เมื่อเทียบกับกลางวัน การทดลองของ F.Halbens ในอาสาสมัคร 7 คน โดยให้อาหารประเภทเดียวกันปริมาณ 2,000 แคลอรี กลุ่มแรกให้กินตอนเช้า อีกกลุ่มให้กินตอนกลางคืน ผลปรากฏว่ากลุ่มที่กินตอนกลางคืนมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน
6. อุณหภูมิของร่างกาย
อุณหภูมิของร่างกายต่ำสุดอยู่ในช่วง 00.00-06.00 น.
อุณหภูมิของร่างกายสูงสุดในช่วง 17.00-18.00 น.
และทุก 2-3 ชั่วโมง จะมีการปรับของอุณหภูมิครั้งหนึ่ง
7. ระดับกลูโคสในเลือด
ระดับกลูโคสในเลือดของหนูทดลองสูงสุดเวลาประมาณ 08.30 น. ต่ำสุดช่วงเวลา 20.30 น. แม้ในภาวะที่หิวจัด ระดับกลูโคสก็จะดำรงอยู่เช่นนี้ไม่เปลี่ยนแปลง
ในร่างกายมนุษย์ ระดับน้ำตาลเริ่มลดลงตั้งแต่พลบค่ำ (18.00 น.) และค่อยๆ ลดลงต่ำสุดระหว่างเวลา 03.00 – 06.00 น. กฎเกณฑ์นี้นำมาประยุกต์กับการรักษาเบาหวาน ซึ่งมักจะต้องใช้ยาช่วงเวลากลางวัน ที่มีแนวโน้มน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูง ถ้าผู้ป่วยกินยาลดน้ำตาลในเลือดเกินขนาด หรือมากเกินช่วงกลางคืน อาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำและมีอาการช็อกได้
8. ระบบการขับถ่าย
ไตมีหน้าที่ขับถ่ายของเสียจากกระบวนการเมตาบอลิซึมของร่างกายได้สูงสุดระหว่างช่วงเช้าถึงเที่ยงวัน
การขับ K+(potassium) ของทารกในครรภ์เริ่มตั้งแต่ สัปดาห์ที่ 4-20 และขึ้นกับปัจจัยหลายประการ เช่น การนอนหลับ การเคลื่อนไหว รวมถึงการทำงานของต่อมหมวกไต
คนปกติที่นอน 23.00 น. ตื่นนอน 07.00 น. การขับของเสียสูงสุดในช่วงกลางวัน 10.30-16.30 น. และต่ำสุดช่วงกลางคืน (เวลานอนหลับ)
9. ระบบฮอร์โมน
ระดับฮอร์โมนเทสโตสเตอรอน ในเลือดสูงสุดเวลา 08.00-09.00 น. และต่ำสุดในช่วงกลางคืน
ระดับฮอร์โมนที่กระตุ้นต่อมหมวกไต ต่ำสุดช่วง 04.00-18.00 น.
ระดับฮอร์โมน ACTH ตรงกันข้ามจะสูงตอนเช้า (08.00-09.00 น.)
ระดับฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ เริ่มต้นสูงตั้งแต่ 04.00 น. และสูงสุดในช่วง 06.00-08.00 น. ต่ำสุดระหว่าง 22.00-01.00 น. ช่วงเวลาตั้งแต่เที่ยงคืนถึง 09.00 น. มีปริมาณการหลั่งถึงร้อยละ 70 ของปริมาณฮอร์โมนทั้งหมดของรอบ 24 ชั่วโมง
ระดับฮอร์โมนที่มากระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ จะสูงสุดช่วงหัวค่ำถึงเที่ยงคืน
คนที่ทำงานเวรผลัดดึกหลายๆ วัน ต้องใช้เวลาการปรับสภาพการทำงานของต่อมไพเนียลนานเป็นสัปดาห์ จึงจะเข้ากฎเกณฑ์ปกติ (melatonin จะต้องหลั่งมากกลางคืน-ตอนมืด)
ฮอร์โมนการเจริญเติบโต จะหลั่งสูงสุด ภายหลังการนอนหลับลึกยามค่ำคืน
ฮอร์โมนโพรแล็กทิน เริ่มจะสูงขึ้นในช่วง 60-90 นาที หลังนอนหลับกลางคืน และค่อยๆ สูงสุดเวลาหัวรุ่ง 05.00-07.00 น. และลดลงอย่างรวดเร็ว จนถึง 10.00 น. สู่ระดับต่ำสุด