ในห้องเรียนวันหนึ่ง ไอสไตน์ถามนักเรียนว่า..
“มีคนซ่อมปล่องไฟสองคน กําลังซ่อมปล่องไฟเก่า พอพวกเขาออกมาจากปล่องไฟ ปรากฏว่า คนหนึ่งตัวสะอาด อีกคนตัวเลอะเทอะ เต็มไปด้วยเขม่า ขอถามหน่อยว่า คนไหนจะไปอาบน้ำก่อน “
นักเรียนคนหนึ่งตอบว่า “ก็ต้องคนที่ตัวสกปรกเลอะเขม่าควันสิครับ ”
ไอสไตน์ พูดว่า “งั้นเหรอ คุณลองคิดดูให้ดีนะ คนที่ตัวสะอาด เห็นอีกคนที่ตัวสกปรกเต็มไปด้วยเขม่าควัน เขาก็ต้องคิดว่าตัวเองออกมาจากปล่องไฟเก่าเหมือนกัน ตัวเขาเองก็ต้องสกปรกเหมือนกันแน่ๆเลย ส่วนอีกคน เห็นฝ่ายตรงข้ามตัวสะอาด ก็ต้องคิดว่าตัวเองก็สะอาดเหมือนกัน ตอนนี้ ผมขอถามพวกคุณอีกครั้งว่า ใครที่จะไป อาบน้ำก่อนกันแน่ ”
นักเรียนคนหนึ่งพูดขึ้นมาด้วยความตื่นเต้น ว่า “อ้อ! ผมรู้แล้ว พอคนตัวสะอาดเห็นอีกคนสกปรก ก็นึกว่าตัวเองต้องสกปรกแน่ แต่คนที่ตัวสกปรก เห็นอีกคนสะอาด ก็นึกว่าตัวเองไม่สกปรกเลย ดังนั้นคนที่ตัวสะอาดต้องวิ่งไปอาบน้ำก่อน แน่เลย ….. ถูกไหมครับ….”
ไอสไตน์ มองไปที่นักเรียนทุกคน นักเรียนทุกคนต่างเห็นด้วยกับคําตอบนี้
ไอสไตน์ ค่อยๆพูดขึ้นอย่างมีหลักการและเหตุผล
“คําตอบนี้ก็ผิด ทั้งสองคนออกมาจากปล่องไฟเก่าเหมือนกัน จะเป็นไปได้ไงที่คนหนึ่งสะอาด อีกคนหนึ่งจะสกปรก นี่แหละที่เขาเรียกว่า “ตรรกะ”
“เมื่อความคิดของคนเราถูกชักนําจนสะดุด ก็จะไม่สามารถแยกแยะ และหาเหตุผลแห่งเรื่องราวที่แท้จริงออกมาได้ ซึ่งคือ “ตรรกะ”
การที่จะหา ตรรกะ ได้นั้น เราต้องกระโดด ออกมาจาก “พันธนาการของความเคยชิน”
หลบเลี่ยงจาก “กับดักทางความคิด”
หลีกหนีจาก “สิ่งที่ทําให้หลงทางจากความรู้จริง “
ขจัด “ทิฐิแห่งกมลสันดาน”
คุณจะหาตรรกะ พบก็ต่อเมื่อคุณสลัดหมากทั้งหมดที่คนอื่นเขาจัดฉาก วางล่อคุณไว้ ออกไปได้เสียก่อน...
ทำไมต้องสอนโจทย์ปัญหาคณิต ?
-
การเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนได้เกิดทักษะที่สำคัญทางคณิตศาสตร์เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งต่อการต่อยอดความเข้าใจของผู้เรียน
การค้นพบวิธีการ /และรู้คำคำ...
7 ปีที่ผ่านมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น