เราอาจจะเคยคิดว่าลูกคนรวยพันล้าน หมื่นล้าน ที่เขามีของเล่นมากมาย มีขนมกินอร่อยๆมากมาย มีคอมพิวเตอร์ไว้ให้เล่นเกมส์เมื่อเขาต้องการ ฯลฯ แต่เด็กบางคนที่มีทุกสิ่งเช่นนั้น เขาอาจจะขาดโอกาสดีๆที่ไม่ได้ค้นพบสิ่งที่เงินทองซื้อไม่ได้ บางคนอาจะเรียกสิ่งนั้นว่า มิตรภาพ ความรัก ความอบอุ่น ปรารถนาดี ฯลฯ..
เด็กคนหนึ่งเกิดในครอบครัวที่ยากจนมาก เกิดมาในครอบครัวที่ไม่ค่อยจะมีเงินทอง..
ไม่มีของเล่นมากมาย ไม่เคยได้ลิ้มรสขนมอร่อยๆที่ซื้อด้วยเงินตรา
ผมเคยคุยกับเด็กคนนี้ที่เขาเกิดมาในครอบครัวเช่นนี้ว่าเขารู้สึกอย่างไร??
"ผมไม่คิดที่จะน้อยใจเลยครับ! ที่พ่อแม่ผมไม่ได้มีเงินทองมากมาย ไม่เคยซื้อขนมอร่อยๆ ให้ผมทาน ไม่เคยซื้อของเล่นราคาแพงๆ จากร้านค้าให้ผม ฯลฯ ทุกๆ วันผมได้รับประทานอาหารจากหยาดเหงือที่ครอบครัวเราช่วยกันหามากินกันเองโดย ไม่ต้องเสียเงินค่าอาหารเลย เช่น ปลา ผัก ผลไม้ สมุนไพร ฯลฯ พ่อกับแม่บอกผมว่ายิ่งทานเยอะลูกยิ่งจะได้แข็งแรงไม่เสียสุขภาพ บางครั้งพ่อทำสิ่งประดิษฐ์จากธรรมชาติให้ผมเล่นโดยที่เราไม่ต้องไปเสียเงิน ซื้อของเล่นราคาแพงๆ จากร้านค้าเลย บางครั้งพ่อก็จะนำของที่อร่อยๆ จากธรรมชาติมาให้ผมกินแทนขนมหวานโดยไม่ต้องเสียเงินค่าขนมหวานเลยสักบาทครับ ผมคิดว่าผมเกิดมาโชคดีมากเลยครับที่ได้เกิดมาเป็นลูกของพ่อกับแม่.." เด็กน้อยคนนั้นพูดกับผมอย่างภาคภูมิใจ...
การศึกษากับปัญญา..
ตอบลบอเล็ก บอร์น (นักเขียน) : "เป็นไปได้ที่จะบรรจุข้อมูลล้านชิ้นเข้าไปในหัว และยังไร้การศึกษาโดยสิ้นเชิง"
อนาโตลี ฟรานส์ (นักเขียนรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม 1921) : "การศึกษามิใช่คุณจำได้เท่าไร หรือคุณรู้มากแค่ไหน แต่อยู่ที่ว่าคุณสามารถแยกแยะข้อแตกต่างระหว่างอะไรที่คุณรู้กับอะไรที่คุณ ไม่รู้"
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (นักฟิสิกส์รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ 1921) : "ความรู้ไม่ใช่ปัญญา"
บี. เอฟ. สกินเนอร์ (นักจิตวิทยา นักปรัชญา) : "การศึกษาเป็นสิ่งที่เหลือรอดมาเมื่อได้ลืมสิ่งที่เรียนรู้มาหมดแล้ว"
จี. เอ็ม. เทรเวลยาน (นักประวัติศาสตร์) : "การศึกษาได้สร้างคนจำนวนมากที่สามารถอ่านออก แต่ไม่สามารถแยกออกว่าอะไรสมควรอ่าน"
เฮเลน เคลเลอร์ (นักกิจกรรมเพื่อคนตาบอด) : "มหาวิทยาลัยมิใช่สถานที่ที่ไปหาความคิดใหม่ๆ "
มัลคอล์ม ฟอร์บส์ (นักธุรกิจ) : "จุดประสงค์ของการศึกษาคือ การแทนที่ความคิดที่ว่างเปล่าด้วยความคิดที่เปิดกว้าง"
มาร์ก ทเวน (นักเขียน) : "ผมไม่เคยยอมให้การเรียนในโรงเรียนมายุ่งกับการศึกษาของผมเลย"
แมรี เพ็ตติโบน พูล (นักเขียน) : "การพูดตามสิ่งที่คนอื่นพูดต้องใช้การศึกษา การท้าทายสิ่งที่คนอื่นพูดต้องใช้สมอง"
วินทร์ เลียววาริณ ..
http://www.winbookclub.com