วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ขลุ่ยไทย




เครื่องดนตรีที่ใกล้ชิดกับคนไทยมากที่สุดชนิดหนึ่ง คนทั่ว ๆ ไปนิยมเป่าขลุ่ยมากกว่าเล่นดนตรีชนิดอื่น หรือแม้แต่คนในวงการ ดนตรีไทย ที่เล่นเครื่องดนตรีชนิดอื่นก็มักเป่าขลุ่ยด้วย เนื่องจากขลุ่ย เป็นเครื่องดนตรีที่สามารถนำติดตัวได้สะดวกเสียงไพเราะการหัดในเบื้องต้น ไม่สู้ยากนัก โดยทั่วไปคนมักเข้าใจว่าขลุ่ยนั้นเล่นง่าย แต่ความจริงแล้วสิ่งที่เราเห็นว่าง่ายที่สุดกลับเป็นสิ่งที่เล่นยากที่สุด คนที่เป่าขลุ่ยได้ดีในปัจจุบันจึงหาได้ยากนักดนตรีจึงขาดครูผู้แนะนำไปด้วย ขลุ่ยไทยมีหลักฐานว่าเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยที่ไทยยังตั้งหลักฐานที่ตอนใต้ของจีน คือ มลฑลยูนนานของจีนในปัจจุบัน สมัยสุโขทัยมีการกล่าวถึงเสียงพิณ เสียงพาทย์ แต่กลับไม่พบหลักฐานเกี่ยวกับขลุ่ยไทยในหลักศิลาจารึก ขลุ่ยไทยมีปรากฏชัดเจนในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ ว่า "ชาวดนตรีคอยฟังสุรเสียง ครั้นเสร็จ ขลุ่ยนำเพลง" และหลังจากนั้น ขลุ่ยไทยปรากฏว่ามีการใช้ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน

ขลุ่ย เป็นเครื่องดนตรีดั้งเดิมของไทย ทำด้วยไม้ไผ่ปล้องยาวๆ ไว้ข้อทางปลายแต่เจาะทะลุข้อย่างไฟให้แห้งแล้วตบแต่งผิวให้ ไหม้เกรียมเป็นลวดลายสวยงาม ด้านหน้าเจาะรูกลมๆเรียงแถวกัน 7 รู สำหรับนิ้วปิดเปิดเสียง ขลุ่ยไม่มีลิ้นเหมือนปี่ แต่เขาใช้ไม้อุดเต็มปล้อง แล้วปาดด้านล่างให้มีช่อง ไม้อุดนี้เรียกว่า ดาก ทำด้วยไม้สักเพราะไม่มีขุยมาบังลม

ด้านหลังใต้ดากลงมา เจาะรูเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่ปาดตอนล่างเป็นทางเฉียงไม่เจาะ ทะลุตรงเหมือนรูด้านหน้า รูที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้านี้ เรียกว่า รูปากนกแก้ว ใต้รูปากนกแก้วลงมา เจาะรูอีก 1 รู เรียกว่า รูนิ้วค้ำ เพราะเวลาเป่า ผู้เป่าจะใช้หัวแม่มือค้ำปิดเปิดที่รูนี้ เหนือรูนิ้วค้ำด้าน หลัง และเหนือรูบนของรูด้านหน้าทั้งเจ็ดรู แต่อยู่ทางด้านขวา เจาะรูอีกรูหนึ่งเรียกว่า รูเยื่อ เพราะแต่ก่อนจะใช้เยื่อไม้ไผ่ปิดรูนี้ ต่อมาก็ไม่ค่อยได้ใช้ ตรงปลายเลาขลุ่ยจะเจาะรูให้ซ้ายขวา ตรงกันเพื่อร้อยเชื่อก เรียกว่า รูร้อยเชือก ดังนั้น จะสังเกตว่า ขลุ่ย 1 เลา จะมีรูทั้งสิ้น 14 รู

โดยทั่วไปขลุ่ยไทย อาจจำแนกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้

เป็นขลุ่ยขนาดเล็กเสียงสูงกว่าขลุ่ยเพียงออเป็นคู่สี่ ใช้ในวงมโหรีเครื่องคู่ เครื่องใหญ่ และวงเครื่องสายเครื่องคู่โดยเป็นเครื่องนำในวงเช่นเดียวกับระนาดหรือซอด้วงนอกจากนี้ยังใช้ในวงเครื่องสายปี่ชวาเพราะขลุ่ยหลิบมีเสียงตรงกับเสียงชวาโดยบรรเลงเป็นพวกหลังเช่นเดียวกับซออู้

เป็นขลุ่ยที่มีระดับเสียงอยู่ในช่วงปานกลาง คนทั่วไปนิยมเป่าเล่น ใช้ในวงมโหรีหรือเครื่องสายทั่ว ๆ ไป โดยเป็นเครื่องตามหรืออาจใช้ในวงเครื่องสายปี่ชวาก็ได้แต่เป่ายากกว่าขลุ่ยหลิบเนื่องจากเสียงไม่ตรงกับเสียงชวาเช่นเดียวกับนำ

ขลุ่ยหลิบมาเป่าในทางเพียงออต้องทดเสียงขึ้นไปให้เป็นคู่ 4 นอกจากนี้ยังใช้ในวงปี่พาทย์ไม้นวมแทนปี่อีกด้วย โดยบรรเลงเป็นพวกหน้า

เป็นขลุ่ยขนาดใหญ่เสียงต่ำกว่าขลุ่ยเพียงออสามเสียง ใช้ในวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ ซึ่งต้องการเครื่องดนตรีที่มีเสียงต่ำเป็นพื้น นอกจากนี้ในอดีตยังใช้ในวงมโหรีเครื่องใหญ่ ปัจจุบันไม่ได้ใช้เนื่องจากหาคนเป่าที่มีความชำนาญได้ยาก

ขลุ่ยอู้ของโบราณจะมีเจ็ดรู (รวมรูนิ้วค้ำ) แต่ในปัจจุบันมีผู้คิดทำเพิ่มขึ้นเป็นแปดรู โดยเพิ่มรูที่ใช้นิ้วก้อยล่างขึ้นอีกรูหนึ่ง

ขลุ่ยอู้ปัจจุบันนี้หายากเนื่องจากต้องใช้ไม้ไผ่ที่มีขนาดใหญ่ ปล้องยาก ซึ่งหาได้ยาก

เป็นขลุ่ยที่มีเสียงสูงกว่าขลุ่ยเพียงออหนึ่งเสียง ซึ่งตรงกับเสียงปี่ใน ใช้ในวงปี่พาทย์ไม้นวมเป็นเครื่องนำแทนปี่ ซึ่งอาจมีเสียงดังเกินไปใช้เล่นเพลงตับต่างๆแต่ปัจจุบันนี้ไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก

เป็นขลุ่ยที่มีขนาดใหญ่กว่าและเสียงต่ำกว่าขลุ่ยเพียงออหนึ่งเสียงเสียงตรงกับเสียงปี่นอกต่ำอาจใช้ในวงมโหรีแทนขลุ่ยเพียงออในกรณีที่ต้องการเสียงต่ำกว่าธรรมดา ปัจจุบันนี้ไม่ได้นำมาใช้เนื่องจากขาดคนเป่าที่มีความชำนาญ

ในระยะหลังในวงเครื่องสายได้นำเครื่องดนตรีตะวันตกเข้ามาเล่นร่วมด้วย เรียกว่าวงเครื่องสายผสม เช่น เปียโน ออร์แกน จึงมีผู้คิดทำขลุ่ยให้เข้ากับเสียงดนตรีเหล่านี้

การเล่นเครื่องดนตรีของไทยทุกชนิด นักดนตรีต้องสำรวมกิริยามารยาท ปฎิบัติให้เรียบร้อยให้ความเคารพต่อครูบาอาจารย์ เครื่องดนตรีผู้ฟัง ตลอดจนนักดนตรีด้วยกันเอง การนั่งเป่าขลุ่ยหรือปี่ ต้องนั่งตัวตรงเพื่อให้ลมเดินสะดวก ถ้านั่งกับพื้นควรนั่งพับเพียบ

การจับขลุ่ยหรือปี่นั้น แต่โบราณมาจะจับเอามือฃวาอยู่ข้างบนมือซ้าย ซึ่งสันนิษฐานว่าคนส่วนใหญ่ถนัดการใช้มือขวามากกว่ามือซ้าย การเป่าขลุ่ยหรือปี่ มือที่อยู่ด้านบนจะใช้มากกว่ามือที่อยู่ด้านล่าง ในการจับจึงควรจับมือขวาอยู่ด้านบน แต่ถ้าถนัดมือซ้ายก็ไม่ผิดแต่อย่างได้ แต่ก็ควรคำนึงถึงเอกลักษณ์ไว้บ้าง

สำหรับที่นั่งของขลุ่ยในการบรรเลงในวงนั้น ถ้าเป็นวงปี่พาทย์ไม้นวม ควรนั่งด้านขวาของฆ้องใหญ่ เพราะฆ้องใหญ่เป็นหลักของวง เครื่องดนตรีอื่นควรนั่งอยู่รอบ ๆ ถ้าเป็นวงอื่น เช่น วงเครื่องสาย ควรนั่งข้างซอด้วง วงมโหรีก็ควรนั่งข้างซอด้วงเข่นกัน แต่ถ้ามีขลุ่ยหลิบก็อาจแยกกันได้ โดยปกติไม่ควรนั่งข้างซออู้ เพราะซออู้เสียงดัง สีตบหน้าตบหลัง ที่นั่งของเครื่องดนตรีแต่ละชนิด จะมีอิทธิพลต่อเสียงรวมที่ออกมามาก ถ้านั่งที่ไม่เหมาะสมเสียงดนตรีรวมจะไม่ดีเท่าที่ควร อีกประการหนึ่งการนั่งที่เป็นหลักแหล่งของเครื่องดนตรีแต่ละชนิด จะทำให้ผู้ดูสามารถรู้ว่าที่ตรงนั้น เป็นเครื่องดนตรีอะไร เพราะบางทีอยู่ไกลไม่สามารถมองเห็นเครื่องดนตรีที่เล่น


ใช้ริมฝีปากแตะเลาขลุ่ย ใช้ลมตรงจากปอด และลมที่มาจากกระพุ้งแก้ม ในลักษณะเหมือนผิวปาก ขณะเป่าลมเข้าไปในรูเป่า นิ้วมือทั้งสองข้าง จะกดรูให้มิด เสียงขลุ่ยจะดังออกมาตามระดับเสียง มีลักษณะที่เป่าเป็นพื้นฐานดังนี้

1. การเป่าตอด คือการใช้ลมเป่าตัดที่เป็นช่วงๆไปตามหน่วยเสียงที่ต้องการ และเป่าลมเปล่า

2. การเป่าลมเปล่า คือคือการใช้ลมเป่าเข้าไปในลักษณะยาว เบา แรง หรือหยุดเสียง

หลักการเป่าทั้ง 2 อย่างจะทำให้เกิดเสียงและวิธีการดังนี้

- เป่าเก็บ คือการเป่าที่มีพยางค์ถี่ติดกันโดยตลอด จนเกิดเป็นลักษณะเฉพาะตัวที่เรียกว่า" ทางขลุ่ย "

- เป่าโหย คือคือการเป่าที่มีเสียงยาวๆ ลดเลื่อนระดับเชื่อมโยงกับเสียงอื่นๆได้อย่างสนิทสนม

- เป่าตอด คือการเป่าที่ใช้ลิ้นตัดลมเป็นช่วงๆ ไปตามหน่วยเสียงที่ต้องการ

- เป่าพรม คือการเป่าให้มีพยางค์ถี่ๆโดยการ ปิดเปิดรูเร็วๆ

- เป่าปริบ คือการเป่าบังคับลม และนิ้วให้เกิดเสียงสั่น ในลักษณะสั้น

- เป่าครั่น คือการเป่าที่ทำให้เสียงสะดุด หรือสั่นสะเทือน ด้วยการบังคับลมให้สะเทือนมาจากลำคอ เช่นเดียวกับครั่นในการร้อง



ปาล์ม ป.6

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า 3.0 ประเทศไทย.