หนังเขียนที่จุดประกายให้ผมอยากเป็นนักเขียน จากหนังสือ
"รอยท้าเล็กๆ ของเราเอง"
| |
วินทร์ เลียววาริณ เกิดที่หาดใหญ่ สงขลา เมื่อปี พ.ศ. 2499 เข้าเรียนชั้นประถมปีที่ 1 เมื่ออายุเจ็ดขวบ ที่โรงเรียนวิริยเธียรวิทยา หาดใหญ่ ซึ่งเป็นโรงเรียนประถมเล็กๆ ครั้นแปดขวบก็ยังเรียนซ้ำชั้น ป. 1 ด้วยครูประจำชั้นเห็นว่าจะทำให้ภูมิแน่นขึ้น!
เรียนต่อชั้นประถมปีที่ 4 ที่โรงเรียนแสงทองวิทยา หาดใหญ่ ซึ่งเป็นโรงเรียนคาทอลิก จึงมีโอกาสเรียนทั้งศาสนาพุทธและคริสต์ เป็นช่วงเวลาที่อ่านหนังสือนิยายจนหมดห้องสมุด ชอบวิชาวาดเขียนเป็นพิเศษ
เมื่อจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้ไปต่อม.ศ. 4 ที่กรุงเทพฯ ณ โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) รุ่นที่ 3 และเป็นรุ่นแรกที่เรียน ณ ที่ตั้งของโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ปัจจุบัน
สนใจงานศิลปะตั้งแต่เล็ก จึงเลือกเรียนสถาปัตยกรรมศาสตร์ จบปริญญาตรี สถ.บ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วเดินทางไปทำงานที่สิงคโปร์ทันที ทำงานเป็นสถาปนิกที่สิงคโปร์ร่วมสี่ปีก็เดินทางไปทำงานและเรียนต่อที่ นิวยอร์ก อเมริกา เรียนหลายมหาวิทยาลัยโดยไม่เอาปริญญา จบแล้วกลับเมืองไทยมาทำงานในวงการโฆษณา และต่อมาเรียนต่อจนได้รับปริญญาโทด้านการตลาด จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เริ่มชีวิตคนโฆษณาด้วยตำแหน่งผู้กำกับศิลป์ และเปิดฉากการเขียนหนังสือควบคู่ไปด้วย
เรื่องสั้นเรื่องแรกที่ได้รับการตีพิมพ์คือ ไฟ
ผ่านสนามวรรณกรรมมาจนได้รับหลายรางวัล เช่น โลกีย-นิพพาน (2535) การหนีของราษโลกสามใบของราษฎร์ เอกเทศ (2538) และ ตุ๊กตา (2541) ได้รับรางวัลช่อการะเกดยอดนิยม ประจำปี 2535, 2538 และ 2541 ตามลำดับ เช็งเม้ง (2541) ได้รับรางวัลเรื่องสั้นดีเด่นจากสมาคมภาษาและหนังสือ ปี 2541 รางวัลซีไรต์สองสมัย (2540/2542) รางวัลศิลปาธร (2549)
ผลงานของ วินทร์ เลียววาริณ
- อาเพศกำสรวล (รวมเรื่องสั้นแนวทดลอง 2537)
รางวัลดีเด่นจากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ ปี 2538
- สมุดปกดำกับใบไม้สีแดง (รวมเรื่องสั้นแนวหักมุม 2537)
รางวัลชมเชยจากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ ปี 2538
- ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน (นวนิยาย 2537)
รางวัลดีเด่นจากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ ปี 2538
รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน(ซีไรต์) ปี 2540
หนังสือดีสำหรับเด็กและเยาวชน (อายุ 16-18 ปี) พ.ศ. 2541-2542
- เดือนช่วงดวงเด่นฟ้าดาดาว (รวมเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ 2538)
หนึ่งใน 88 เล่มหนังสือดีวิทยาศาสตร์ของ สกว. ปี 2544
- สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน (รวมเรื่องสั้น 2542)
รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน(ซีไรต์) ปี 2542
หนึ่งในหนังสือดี 100 เล่มที่เด็กและเยาวชนควรอ่าน จาก สกว.
- หนึ่งวันเดียวกัน (รวมเรื่องสั้นประกอบภาพ 2544)
- หลังอานบุรี (รวมเรื่องสั้นหัสคดี 2544)
- ปีกแดง (นวนิยาย 2545)
รางวัลดีเด่นจากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ ปี 2546
- ำ (หรรษารคดีโกหกผสมจริง 2546)
- วันแรกของวันที่เหลือ (รวมเรื่องสั้นประกอบภาพ 2547)
- ฆาตกรรมกลางทะเล (รวมเรื่องสั้นรหัสคดีชุด เสี่ยวนักสืบ 1 2547)
- คดีผีนางตะเคียน (รวมเรื่องสั้นรหัสคดีชุด เสี่ยวนักสืบ 2 2547)
- ปลาที่ว่ายในสนามฟุตบอล (บทความวิทยาศาสตร์ 2548)
- นิยายข้างจอ (เรื่องเล่าเกี่ยวกับหนังและหนังสือ 2548)
- จรูญจรัสรัศมีพราว พร่างพร้อย (รวมเรื่องสั้นวิทยาศาสตร์ 2548)
- รอยเท้าเล็กๆ ของเราเอง (บทความเสริมกำลังใจ 2548)
- ผู้ชายคนที่ตามรักเธอทุกชาติ พิมพ์ครั้งที่ 85 (นวนิยาย 2549)
- โลกด้านที่หันหลังให้ดวงอาทิตย์ (รวมเรื่องสั้นประกอบภาพ 2549)
- โลกใบที่สองของโม (นวนิยายภาพรีไซเคิลงานของ จุก เบี้ยวสกุล 2549)
- ฝนตกขึ้นฟ้า (นวนิยาย ฟิล์ม นัวร์ 2550)
- น้ำแข็งยูนิตตราควายบิน (ปั้นน้ำเป็นตัว รวมเรื่องสั้น-วิธีเขียน 2546/2550)
- ยาแก้สมองผูกตราควายบิน (คู่มือสร้างพล็อต 2550)
- บางกะโพ้ง (นวนิยายวิทยาศาสตร์แบบไทยๆ 2550)
- เบื้องบนยังมีแสงดาว (บทความเสริมกำลังใจ 2550)
- ฆาตกรรมจักรราศี (นวนิยายรหัสคดีชุด เสี่ยวนักสืบ 3 2551)
- เดินไปให้สุดฝัน (สารคดีเส้นทางศิลปะ วินทร์ เลียววาริณ 2551)
- อาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันตก (บทความเสริมกำลังใจ 2551)
- บุหงาปารี (นวนิยายอิงประวัติศาสตร์ 2551)
- บุหงาตานี (บุหงาปารี ภาค 2 /นวนิยายอิงประวัติศาสตร์ 2552)
- เส้นรอบวงของหนึ่งวัน (รวมเรื่องสั้นประกอบภาพ 2552)
- มังกรเซน (สารคดีประวัติศาสตร์เซนและปรมาจารย์เซนคนสำคัญ 2552)
- ยามดึกนึกหนาวหนาว เขนยแนบ แอบเอย (รวมเรื่องสั้นวิทยาศาสตร์ 2552)
- วินทร์ เลียววาริณ คุยกับหนอน (รวมจดหมายคัดสรรจากห้อง 'คุยกับ วินทร์ เลียววาริณ' www.winbookclub.com 2552)
ขอขอบคุณ "คุณอาวินทร์ เลียววาริณ" ครูป้อม คนล่าฝัน |
กำลังใจส่วนหนึ่งมาจากหนังสือของ คุณอาวินทร์..
ตอบลบนักเขียนในดวงใจ
ตอบลบค่ะ เห็นด้วย และหนังสือของอาวินทร์ก็ยังสร้างสรรค์มากๆ ได้เห็นไอเดียต่างๆที่หลากหลาย เปิดสมองตันๆของเราได้เยอะเลย รู้จักอาวินทร์จากหนังสือเรื่องสั้นหักมุม สมุดปกดำกับใบไม้สีแดง แล้วก็กลายเป็นแฟนหนังสือเรื่อยมา
ตอบลบ